- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 7-13 มิถุนายน 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/ เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,789 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,780 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,809 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,826 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,850 บาท ราคาลดลงจากตันละ 33,900 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,445 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,153 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,990 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 545 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,943 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 415 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,954 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 11 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 409 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,694 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 406 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,673 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 21 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,036 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,048 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.0378
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาอยู่ที่ระดับ 350-360 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นจากระดับ 350 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผลผลิตข้าวจากฤดูการผลิตฤดูหนาว (the winterspring)
มีจำนวนลดน้อยลง ขณะที่ราคาข้าวของฤดูการผลิตฤดูร้อน (the summer-autumn) ที่กำลังมีการเก็บเกี่ยว อยู่ในภาวะทรงตัว โดยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ซื้อจากฟิลิปปินส์ได้ซื้อข้าวจากฤดูการผลิตฤดูหนาวเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก
มีคุณภาพดีกว่าข้าวจากฤดูการผลิตฤดูร้อน อย่างไรก็ตาม วงการค้าข้าวคาดว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามจะกลับมาอยู่ในระดับปานกลางในช่วงเวลาที่เหลือของเดือนนี้
วงการค้าข้าวรายงานว่า ระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2562 เวียดนามส่งออกข้าว จำนวน 666,400 ตัน โดยเป็นข้าวขาว 5% จำนวน 333,700 ตัน ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ก่อน สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the General Statistics Office; GSO) รายงานว่า ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คาดว่าเวียดนามส่งออกข้าวได้ ประมาณ 700,000 ตัน ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่มูลค่าส่งออกคาดว่าอยู่ที่ ประมาณ 297 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 5 เดือนแรก (มกราคม-พฤษภาคม) คาดว่ามีการส่งออกข้าวประมาณ 2.79 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่า ลดลงร้อยละ 5 และร้อยละ 20 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า เมื่อเดือนเมษายน 2562 เวียดนามส่งออกข้าว 741,044 ตัน ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2562 ที่ส่งออกจำนวน 726,480 ตัน โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออก ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 425,099 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 10,843 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 29,903 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 7,790 ตัน ปลายข้าวขาว จำนวน 5,040 ตัน ข้าวเหนียว จำนวน 64,852 ตัน ข้าวหอม จำนวน 161,642 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 35,875 ตัน โดยส่งไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย ตลาดเอเชีย จำนวน 582,627 ตัน ตลาดแอฟริกา จำนวน 81,845 ตัน ตลาดยุโรปและกลุ่ม CIS จำนวน 9,706 ตัน ตลาดอเมริกา จำนวน 60,398 ตัน และตลาดออสเตรเลีย จำนวน 6,468 ตัน
ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2562 (มกราคม-เมษายน) เวียดนามส่งออกข้าวรวม 2,224,617 ตัน ลดลงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับ จำนวน 2,434,735 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออก ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 1,077,381 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 12,175 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 60,332 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 110,642 ตัน ปลายข้าวขาว จำนวน 11,712 ตัน ข้าวเหนียว จำนวน 138,726 ตัน ข้าวหอม จำนวน 735,971 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 77,678 ตัน โดยส่งไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย ตลาดเอเชีย จำนวน 1,651,532 ตัน ตลาดแอฟริกา จำนวน 331,586 ตัน ตลาดยุโรปและกลุ่ม CIS จำนวน 31,372 ตัน ตลาดอเมริกา จำนวน 188,433 ตัน และตลาดออสเตรเลีย จำนวน 21,694 ตัน
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
มีรายงานว่า นักวิจัยด้านการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวของจีน เตรียมขยายพื้นที่เพื่อทดสอบสายพันธุ์ข้าวที่สามารถปลูกในน้ำทะเลได้ โดยจะขยายพื้นที่การทดลองจาก 6.67 ตารางกิโลเมตร เป็น 13.34 ตารางกิโลเมตร หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่า ภายในปีนี้ โดยจีนเริ่มทดลองปลูกข้าวในน้ำทะเลมาตั้งแต่ปี 2529 ซึ่งเป็นข้าวสายพันธุ์พิเศษที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่
น้ำทะเลท่วมถึง รวมทั้งพื้นที่ดินเค็มที่สภาพเป็นด่าง
ปัจจุบัน จีนทดสอบปลูกข้าวในน้ำทะเล ที่พื้นที่ดินเค็มสภาพเป็นด่าง 5 แบบ ในหลายเมือง อาทิ เขตปกครองตนเองซินเจียง อุยกูร์ และมณฑลส่านซี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเฮย์หลงเจียง ส่วนทางภาคตะวันออก
ที่มณฑลชานตง และมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งในปีนี้ นักวิจัยคาดหวังว่าจะเพิ่มผลผลิตให้ได้มากกว่า 300 กิโลกรัมต่อ 667 ตารางเมตร โดยข้าวบางสายพันธุ์อาจให้ผลผลิตได้มากถึง 500 กิโลกรัมต่อ 667 ตารางเมตร
ขณะที่ นายหยวน หลงผิง (Yuan Longping) นักวิชาการสถาบันวิศวกรรมจีน เปิดเผยว่า ทีมวิจัยของเขาเริ่มทำงานวิจัยการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวน้ำทะเลมาตั้งแต่ปี 2555 โดยมีการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว และคัดเลือกข้าวที่ทนต่อสภาพดินเค็มด่างได้สูง ซึ่งมีการใช้เทคนิคหลากหลาย อาทิ ข้าวลูกผสม นอกจากนี้ ยังมีปัจจัย 4 ข้อสำคัญที่จะทำให้ได้
ผลลัพธ์ที่ดี คือ สายพันธุ์ข้าวที่ดี วิธีการปลูก สภาพพื้นที่ และระบบนิเวศวิทยา
ขณะเดียวกัน นายหยวน เปิดเผยว่า จีนมีพื้นที่ที่มีสภาพดินเค็มด่างมากกว่า 667,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทิ้งร้างไว้และไม่ได้ใช้ประโยชน์จำนวนพื้นที่กว่า 66,700 ตารางกิโลเมตร ที่มีแหล่งน้ำสำหรับปลูกข้าวได้ โดยจีนวางแผนที่จะปลูกข้าวน้ำทะเลในพื้นที่เหล่านี้ให้ได้ภายใน 8 ปี ซึ่งจะสามารถเลี้ยงประชากรได้ราว 80-100 ล้านคน และการพัฒนาวิธีการใหม่นี้ เป็นการหาหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของประเทศด้วย
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ 366-369 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้น 2 เหรียญสหรัฐฯ จากระดับ 364-367 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินรูปีแข็งค่าที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ ซึ่งกระทบต่อรายได้ของผู้ส่งออกที่ได้ส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ลดลง เนื่องจากผู้ซื้อยังลังเลที่จะซื้อข้าวในระดับราคานี้
กระทรวงเกษตร (the Agriculture Ministry) รายงานผลการพยากรณ์ผลผลิตธัญพืช ครั้งที่ 3 (Third Advance Estimate of Food Grain Production) สำหรับปีการผลิต 2561/62 (กรกฎาคม 2561-มิถุนายน 2562) โดยคาดว่า
จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 115.63 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับจำนวน 112.76 ล้านตัน ในปี2560/61 และยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 5 ปีที่ 107.8 ล้านตันด้วย ทั้งนี้ คาดว่าในฤดูการผลิต Kharif ของปี 2561/62 (มิถุนายน-ธันวาคม) จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 101.76 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับจำนวน 97.14 ล้านตัน ในปี 2560/61 และในฤดูการผลิต Rabi ของปี 2561/62 (พฤศจิกายน-พฤษภาคม) จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 13.88 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับจำนวน 15.62 ล้านตัน
ในปี 2560/61 ผู้ส่งออกข้าวอินเดียคาดการณ์ว่า ในปี 2562 ชาวนาอินเดียจะกลับไปปลูกข้าวบาสมาติเพิ่มขึ้น หลังจากที่เปลี่ยนไปปลูกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติ (Non-Basmati) เมื่อปีที่แล้ว จากการที่รัฐบาลสนับสนุนให้ส่งออก เนื่องจากตลาดข้าวบาสมาติชะลอตัว โดยในปี 2562 ผู้ส่งออกมองเห็นสัญญาณที่ดีจากตลาดตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอิหร่าน
ที่จะนำเข้าข้าวบาสมาติมากขึ้น ขณะที่ข้าวคงค้างในสต็อกมีไม่มาก คาดว่าปริมาณการผลิตข้าวในช่วงฤดูฝนของอินเดีย
ที่กำลังจะมาถึงน่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20
ทั้งนี้ อิหร่านนับเป็นตัวแปรสำคัญที่บ่งชี้แนวโน้มตลาดข้าวบาสมาติ โดย 1 ใน 3 ของข้าวบาสมาติที่อินเดียส่งออกจะถูกนำเข้าโดยตัวแทนนำเข้าในสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ และอิหร่าน เพื่อกระจายสินค้าต่อไปในตะวันออกกลาง
ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว อินเดียส่งข้าวบาสมาติไปตะวันออกลางเพิ่มขึ้นแต่ก็ต้องประสบกับประเด็นเรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยของซาอุดิอาระเบีย และความล่าช้าในการชำระเงินของอิหร่าน อย่างไรก็ตาม ในปีนี้สมาคมผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย
(All India Rice Exporters Association; AIREA) คาดว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายลง โดยเฉพาะการทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างอินเดียและอิหร่าน ที่ทำให้อินเดียสามารถชำระเงินค่าน้ำมันดิบให้กับบริษัทของรัฐอิหร่านด้วยเงินสกุลรูปีได้ ส่งผลให้อิหร่านนำเงินที่ได้มาไปหักยอดค้างชำระค่าข้าว ยา และเวชภัณฑ์ที่รัฐบาลนำเข้าจากอินเดีย ผู้แทนของสมาคม
ผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย จึงตั้งข้อสังเกตว่าปริมาณการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านจะช่วยกระตุ้นการส่งออกข้าวและสินค้าอื่นๆ จากอินเดียได้ ซึ่งอินเดียควรหาทางใช้กลยุทธ์การค้าต่างตอบแทน และหาจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการส่งออกข้าวไปยังอิหร่าน ซึ่งอิหร่านมักจะนำเข้าข้าวในช่วงสิ้นปีภายหลังจากฤดูการเก็บเกี่ยวของตนแล้ว
จากแนวโน้มการนำเข้าข้าวของอิหร่าน ประกอบกับปริมาณข้าวที่มีอยู่ทำให้คาดกันว่าในปี 2562 พื้นที่ปลูกข้าวบาสมาติในอินเดียจะเพิ่มขึ้น อาทิ ในรัฐปัญจาบน่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20-25 และทำให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น รวมถึงกระตุ้นให้ชาวนาในรัฐต่างๆ หันมาปลูกข้าวบาสมาติมากขึ้นด้วย หลังจากที่ปีที่แล้วปริมาณผลผลิตข้าวบาสมาติของอินเดียลดลงร้อยละ 5 จากการที่ชาวนาหันไปปลูกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ (Non-Basmati) ตามการสนับสนุนของรัฐบาลในช่วงนั้นที่จะรับมือกับตลาดนำเข้าข้าวบาสมาติที่ชะลอตัวจากการค้างชำระเงินของอิหร่าน รวมถึงการที่สหภาพยุโรปบังคับใช้กฎระเบียบด้านสารตกค้าง ทำให้สหภาพยุโรปนำเข้าข้าวลดลงถึงร้อยละ 50 ในปี 2561-2562 อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติ จำนวน 4.415 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่ส่งออก จำนวน 4.056 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 10 และคิดเป็นร้อยละ 85 ของการส่งออกข้าวบาสมาติในตลาดโลก โดยที่อินเดียกำลังพยายามกระจายตลาดไปยังประเทศอื่นๆ มากขึ้น และในระยะยาว คาดว่าหากอินเดียจะสามารถพัฒนาด้านมาตรฐานด้านสารตกค้างได้ และทำให้การส่งออก
ไปอาหรับ และสหภาพยุโรปขยายตัวต่อเนื่อง
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/ เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,789 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,780 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.06
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,809 บาท ราคาลดลงจากตันละ 7,826 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 33,850 บาท ราคาลดลงจากตันละ 33,900 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.15
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,445 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,153 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,990 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 545 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,943 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 415 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,954 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 11 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 409 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,694 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 406 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,673 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 21 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,036 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 418 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,048 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 12 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.0378
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาอยู่ที่ระดับ 350-360 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นจากระดับ 350 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผลผลิตข้าวจากฤดูการผลิตฤดูหนาว (the winterspring)
มีจำนวนลดน้อยลง ขณะที่ราคาข้าวของฤดูการผลิตฤดูร้อน (the summer-autumn) ที่กำลังมีการเก็บเกี่ยว อยู่ในภาวะทรงตัว โดยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ซื้อจากฟิลิปปินส์ได้ซื้อข้าวจากฤดูการผลิตฤดูหนาวเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก
มีคุณภาพดีกว่าข้าวจากฤดูการผลิตฤดูร้อน อย่างไรก็ตาม วงการค้าข้าวคาดว่าการส่งออกข้าวของเวียดนามจะกลับมาอยู่ในระดับปานกลางในช่วงเวลาที่เหลือของเดือนนี้
วงการค้าข้าวรายงานว่า ระหว่างวันที่ 1-31 พฤษภาคม 2562 เวียดนามส่งออกข้าว จำนวน 666,400 ตัน โดยเป็นข้าวขาว 5% จำนวน 333,700 ตัน ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ก่อน สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the General Statistics Office; GSO) รายงานว่า ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา คาดว่าเวียดนามส่งออกข้าวได้ ประมาณ 700,000 ตัน ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่มูลค่าส่งออกคาดว่าอยู่ที่ ประมาณ 297 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 5 เดือนแรก (มกราคม-พฤษภาคม) คาดว่ามีการส่งออกข้าวประมาณ 2.79 ล้านตัน มูลค่าประมาณ 1.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่า ลดลงร้อยละ 5 และร้อยละ 20 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานว่า เมื่อเดือนเมษายน 2562 เวียดนามส่งออกข้าว 741,044 ตัน ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2562 ที่ส่งออกจำนวน 726,480 ตัน โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออก ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 425,099 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 10,843 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 29,903 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 7,790 ตัน ปลายข้าวขาว จำนวน 5,040 ตัน ข้าวเหนียว จำนวน 64,852 ตัน ข้าวหอม จำนวน 161,642 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 35,875 ตัน โดยส่งไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย ตลาดเอเชีย จำนวน 582,627 ตัน ตลาดแอฟริกา จำนวน 81,845 ตัน ตลาดยุโรปและกลุ่ม CIS จำนวน 9,706 ตัน ตลาดอเมริกา จำนวน 60,398 ตัน และตลาดออสเตรเลีย จำนวน 6,468 ตัน
ทั้งนี้ ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2562 (มกราคม-เมษายน) เวียดนามส่งออกข้าวรวม 2,224,617 ตัน ลดลงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับ จำนวน 2,434,735 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยชนิดข้าวที่เวียดนามส่งออก ประกอบด้วย ข้าวขาว 5% จำนวน 1,077,381 ตัน ข้าวขาว 10% จำนวน 12,175 ตัน ข้าวขาว 15% จำนวน 60,332 ตัน ข้าวขาว 25% จำนวน 110,642 ตัน ปลายข้าวขาว จำนวน 11,712 ตัน ข้าวเหนียว จำนวน 138,726 ตัน ข้าวหอม จำนวน 735,971 ตัน และข้าวอื่นๆ จำนวน 77,678 ตัน โดยส่งไปยังตลาดในภูมิภาคต่างๆ ประกอบด้วย ตลาดเอเชีย จำนวน 1,651,532 ตัน ตลาดแอฟริกา จำนวน 331,586 ตัน ตลาดยุโรปและกลุ่ม CIS จำนวน 31,372 ตัน ตลาดอเมริกา จำนวน 188,433 ตัน และตลาดออสเตรเลีย จำนวน 21,694 ตัน
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
จีน
มีรายงานว่า นักวิจัยด้านการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวของจีน เตรียมขยายพื้นที่เพื่อทดสอบสายพันธุ์ข้าวที่สามารถปลูกในน้ำทะเลได้ โดยจะขยายพื้นที่การทดลองจาก 6.67 ตารางกิโลเมตร เป็น 13.34 ตารางกิโลเมตร หรือเพิ่มขึ้น 2 เท่า ภายในปีนี้ โดยจีนเริ่มทดลองปลูกข้าวในน้ำทะเลมาตั้งแต่ปี 2529 ซึ่งเป็นข้าวสายพันธุ์พิเศษที่สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่
น้ำทะเลท่วมถึง รวมทั้งพื้นที่ดินเค็มที่สภาพเป็นด่าง
ปัจจุบัน จีนทดสอบปลูกข้าวในน้ำทะเล ที่พื้นที่ดินเค็มสภาพเป็นด่าง 5 แบบ ในหลายเมือง อาทิ เขตปกครองตนเองซินเจียง อุยกูร์ และมณฑลส่านซี ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเฮย์หลงเจียง ส่วนทางภาคตะวันออก
ที่มณฑลชานตง และมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งในปีนี้ นักวิจัยคาดหวังว่าจะเพิ่มผลผลิตให้ได้มากกว่า 300 กิโลกรัมต่อ 667 ตารางเมตร โดยข้าวบางสายพันธุ์อาจให้ผลผลิตได้มากถึง 500 กิโลกรัมต่อ 667 ตารางเมตร
ขณะที่ นายหยวน หลงผิง (Yuan Longping) นักวิชาการสถาบันวิศวกรรมจีน เปิดเผยว่า ทีมวิจัยของเขาเริ่มทำงานวิจัยการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวน้ำทะเลมาตั้งแต่ปี 2555 โดยมีการจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าว และคัดเลือกข้าวที่ทนต่อสภาพดินเค็มด่างได้สูง ซึ่งมีการใช้เทคนิคหลากหลาย อาทิ ข้าวลูกผสม นอกจากนี้ ยังมีปัจจัย 4 ข้อสำคัญที่จะทำให้ได้
ผลลัพธ์ที่ดี คือ สายพันธุ์ข้าวที่ดี วิธีการปลูก สภาพพื้นที่ และระบบนิเวศวิทยา
ขณะเดียวกัน นายหยวน เปิดเผยว่า จีนมีพื้นที่ที่มีสภาพดินเค็มด่างมากกว่า 667,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทิ้งร้างไว้และไม่ได้ใช้ประโยชน์จำนวนพื้นที่กว่า 66,700 ตารางกิโลเมตร ที่มีแหล่งน้ำสำหรับปลูกข้าวได้ โดยจีนวางแผนที่จะปลูกข้าวน้ำทะเลในพื้นที่เหล่านี้ให้ได้ภายใน 8 ปี ซึ่งจะสามารถเลี้ยงประชากรได้ราว 80-100 ล้านคน และการพัฒนาวิธีการใหม่นี้ เป็นการหาหลักประกันความมั่นคงทางอาหารของประเทศด้วย
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยข้าวนึ่ง 5% ราคาอยู่ที่ 366-369 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เพิ่มขึ้น 2 เหรียญสหรัฐฯ จากระดับ 364-367 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินรูปีแข็งค่าที่สุดในรอบ 7 สัปดาห์ ซึ่งกระทบต่อรายได้ของผู้ส่งออกที่ได้ส่วนต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง ท่ามกลางภาวะความต้องการข้าวจากต่างประเทศที่ลดลง เนื่องจากผู้ซื้อยังลังเลที่จะซื้อข้าวในระดับราคานี้
กระทรวงเกษตร (the Agriculture Ministry) รายงานผลการพยากรณ์ผลผลิตธัญพืช ครั้งที่ 3 (Third Advance Estimate of Food Grain Production) สำหรับปีการผลิต 2561/62 (กรกฎาคม 2561-มิถุนายน 2562) โดยคาดว่า
จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 115.63 ล้านตันข้าวสาร หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับจำนวน 112.76 ล้านตัน ในปี2560/61 และยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 5 ปีที่ 107.8 ล้านตันด้วย ทั้งนี้ คาดว่าในฤดูการผลิต Kharif ของปี 2561/62 (มิถุนายน-ธันวาคม) จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 101.76 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับจำนวน 97.14 ล้านตัน ในปี 2560/61 และในฤดูการผลิต Rabi ของปี 2561/62 (พฤศจิกายน-พฤษภาคม) จะมีผลผลิตข้าวประมาณ 13.88 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับจำนวน 15.62 ล้านตัน
ในปี 2560/61 ผู้ส่งออกข้าวอินเดียคาดการณ์ว่า ในปี 2562 ชาวนาอินเดียจะกลับไปปลูกข้าวบาสมาติเพิ่มขึ้น หลังจากที่เปลี่ยนไปปลูกข้าวที่ไม่ใช่บาสมาติ (Non-Basmati) เมื่อปีที่แล้ว จากการที่รัฐบาลสนับสนุนให้ส่งออก เนื่องจากตลาดข้าวบาสมาติชะลอตัว โดยในปี 2562 ผู้ส่งออกมองเห็นสัญญาณที่ดีจากตลาดตะวันออกกลาง โดยเฉพาะอิหร่าน
ที่จะนำเข้าข้าวบาสมาติมากขึ้น ขณะที่ข้าวคงค้างในสต็อกมีไม่มาก คาดว่าปริมาณการผลิตข้าวในช่วงฤดูฝนของอินเดีย
ที่กำลังจะมาถึงน่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20
ทั้งนี้ อิหร่านนับเป็นตัวแปรสำคัญที่บ่งชี้แนวโน้มตลาดข้าวบาสมาติ โดย 1 ใน 3 ของข้าวบาสมาติที่อินเดียส่งออกจะถูกนำเข้าโดยตัวแทนนำเข้าในสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ และอิหร่าน เพื่อกระจายสินค้าต่อไปในตะวันออกกลาง
ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว อินเดียส่งข้าวบาสมาติไปตะวันออกลางเพิ่มขึ้นแต่ก็ต้องประสบกับประเด็นเรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยของซาอุดิอาระเบีย และความล่าช้าในการชำระเงินของอิหร่าน อย่างไรก็ตาม ในปีนี้สมาคมผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย
(All India Rice Exporters Association; AIREA) คาดว่าปัญหาดังกล่าวจะคลี่คลายลง โดยเฉพาะการทำบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างอินเดียและอิหร่าน ที่ทำให้อินเดียสามารถชำระเงินค่าน้ำมันดิบให้กับบริษัทของรัฐอิหร่านด้วยเงินสกุลรูปีได้ ส่งผลให้อิหร่านนำเงินที่ได้มาไปหักยอดค้างชำระค่าข้าว ยา และเวชภัณฑ์ที่รัฐบาลนำเข้าจากอินเดีย ผู้แทนของสมาคม
ผู้ส่งออกข้าวของอินเดีย จึงตั้งข้อสังเกตว่าปริมาณการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่านจะช่วยกระตุ้นการส่งออกข้าวและสินค้าอื่นๆ จากอินเดียได้ ซึ่งอินเดียควรหาทางใช้กลยุทธ์การค้าต่างตอบแทน และหาจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการส่งออกข้าวไปยังอิหร่าน ซึ่งอิหร่านมักจะนำเข้าข้าวในช่วงสิ้นปีภายหลังจากฤดูการเก็บเกี่ยวของตนแล้ว
จากแนวโน้มการนำเข้าข้าวของอิหร่าน ประกอบกับปริมาณข้าวที่มีอยู่ทำให้คาดกันว่าในปี 2562 พื้นที่ปลูกข้าวบาสมาติในอินเดียจะเพิ่มขึ้น อาทิ ในรัฐปัญจาบน่าจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20-25 และทำให้ชาวนามีรายได้มากขึ้น รวมถึงกระตุ้นให้ชาวนาในรัฐต่างๆ หันมาปลูกข้าวบาสมาติมากขึ้นด้วย หลังจากที่ปีที่แล้วปริมาณผลผลิตข้าวบาสมาติของอินเดียลดลงร้อยละ 5 จากการที่ชาวนาหันไปปลูกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติ (Non-Basmati) ตามการสนับสนุนของรัฐบาลในช่วงนั้นที่จะรับมือกับตลาดนำเข้าข้าวบาสมาติที่ชะลอตัวจากการค้างชำระเงินของอิหร่าน รวมถึงการที่สหภาพยุโรปบังคับใช้กฎระเบียบด้านสารตกค้าง ทำให้สหภาพยุโรปนำเข้าข้าวลดลงถึงร้อยละ 50 ในปี 2561-2562 อินเดียส่งออกข้าวบาสมาติ จำนวน 4.415 ล้านตัน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่ส่งออก จำนวน 4.056 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 10 และคิดเป็นร้อยละ 85 ของการส่งออกข้าวบาสมาติในตลาดโลก โดยที่อินเดียกำลังพยายามกระจายตลาดไปยังประเทศอื่นๆ มากขึ้น และในระยะยาว คาดว่าหากอินเดียจะสามารถพัฒนาด้านมาตรฐานด้านสารตกค้างได้ และทำให้การส่งออก
ไปอาหรับ และสหภาพยุโรปขยายตัวต่อเนื่อง
ที่มา: สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.72 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.67 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.90 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.78 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.08
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.05 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.43 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.31 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 303.20 ดอลลาร์สหรัฐ (9,411 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 301.75 ดอลลาร์สหรัฐ (9,419 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 8 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 426.16 เซนต์ (5,280 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 422.28 เซนต์ (5,261 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 19 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2562 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 – กันยายน 2562) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 31.55 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.62 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.33 ล้านไร่ ผลผลิต 29.37 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.53 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ สูงขึ้นร้อยละ 4.68 ร้อยละ 7.42 และร้อยละ 2.55 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.37 ล้านตัน (ร้อยละ 1.18 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.14 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2562 ปริมาณ 21.14 ล้านตัน (ร้อยละ 67 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่องและเกษตรกรเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังไม่ครบอายุ ทำให้เชื้อแป้งในหัวมันสำปะหลังค่อนข้างต่ำ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.64 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 1.72 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.65
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.88 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 4.91 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.61
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.36 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.17 ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 13.25 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.60
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 223 ดอลลาร์สหรัฐฯ (6,921 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (6,961 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 448 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,905 บาทต่อตัน)
ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (13,984 บาทต่อตัน)
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.282 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.231 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.542 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.278 ล้านตัน ของเดือนพฤษภาคม คิดเป็นร้อยละ 16.86 และร้อยละ 16.91 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.47 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.27 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.81
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.60 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 17.53 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.10
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนสิงหาคม 2562 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 1,994 ริงกิตต่อตัน (479.10 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 1.7 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากพืชถั่วเหลืองของสหรัฐอเมริกา และการส่งออกพืชถั่วเหลืองปรับตัวลดลง สำหรับการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียในช่วง 10 วันแรกของเดือนมิถุนายนลดลงร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่ผ่านมา ซึ่งความต้องการส่งออกที่ชะลอตัวส่งผลให้สต็อกน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียอยู่ที่ระดับ 1,960 -1,997 ริงกิตต่อตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,976.46 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.08 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,008.62 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.34 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.60
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 498.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.67 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 508.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.06
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
ถั่วเหลือง
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 870.90 เซนต์ (10.07 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 875.28 เซนต์ (10.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.50
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 317.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 319.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.64
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.55 เซนต์ (19.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 27.48 เซนต์ (19.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 870.90 เซนต์ (10.07 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 875.28 เซนต์ (10.18 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.50
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 317.25 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 319.28 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.64
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.55 เซนต์ (19.42 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 27.48 เซนต์ (19.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.24 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 19.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.42
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 28.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 26.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 28.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 29.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 965.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 951.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.71 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.27 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 887.25 ดอลลาร์สหรัฐ (27.69 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 และสูงขึ้นรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.27 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 965.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 943.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.46 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.34 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.52 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 576.60 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 573.50 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 991.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.78 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 969.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.26 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.30 และสูงขึ้นรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.52 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.24 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 19.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.42
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 28.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 26.75 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 28.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 29.50 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.69
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 965.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 951.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.71 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.27 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 887.25 ดอลลาร์สหรัฐ (27.69 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.53 และสูงขึ้นรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.27 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 965.80 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 943.75 ดอลลาร์สหรัฐ (29.46 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.34 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.52 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 576.60 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 573.50 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 991.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.78 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 969.50 ดอลลาร์สหรัฐ (30.26 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.30 และสูงขึ้นรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.52 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.41 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 0.13
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.85 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.65
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 79.41 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 0.13
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 29.85 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 2.65
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.13 (กิโลกรัมละ 45.88 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 68.76 (กิโลกรัมละ 47.97 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.82 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.09 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.13 (กิโลกรัมละ 45.88 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 68.76 (กิโลกรัมละ 47.97 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.82 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 2.09 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,659 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,666 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.42
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,334 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,333 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.08
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 836 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 853 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.99
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตสุกรออกสู่ท้องตลาดใกล้เคียงความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่มีไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะ ทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 72.14 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.97 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 71.82 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.65 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,200 บาท (บวกลบ 74 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตสุกรออกสู่ท้องตลาดใกล้เคียงความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่มีไม่มากนัก แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะ ทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 71.82 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.27 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 72.14 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 69.97 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 71.82 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 74.65 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,200 บาท (บวกลบ 74 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 74.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อยังมีมากขึ้น และใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.79 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.38 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.80 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.26
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อยังมีมากขึ้น และใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.68 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.79 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.38 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.80 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 47.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.26
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ค่อนข้างเงียบเหงา ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้มีภาวะฝนตกชุกในหลายพื้นที่ การจับจ่ายใช้สอยไม่คล่องตัว อีกทั้งมีอาหารและสัตว์น้ำธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ในท้องตลาดเริ่มสะสมมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะ ทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 274 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 280 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.14 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 294 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 266 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 256บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สถานตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ค่อนข้างเงียบเหงา ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงนี้มีภาวะฝนตกชุกในหลายพื้นที่ การจับจ่ายใช้สอยไม่คล่องตัว อีกทั้งมีอาหารและสัตว์น้ำธรรมชาติมากขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ในท้องตลาดเริ่มสะสมมากขึ้น แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะ ทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 274 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 280 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.14 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 294 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 282 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 266 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 256บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 323 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 332 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.71 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 291 บาท และภาคใต้ ร้อยละ 384 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 323 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 332 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.71 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 332 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 291 บาท และภาคใต้ ร้อยละ 384 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.24 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.52 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 89.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.24 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.52 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.72 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.98 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 69.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.33 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.70 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 64.98 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 – 13 มิถุนายน 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 139.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.30 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 83.98 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.19 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 7 – 13 มิถุนายน 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 7 – 13 มิถุนายน 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.90 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 78.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 136.83 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 139.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.30 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.58 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 83.98 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.40 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคา ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.19 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 7 – 13 มิถุนายน 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา